‘ความเชื่อ’ จัดเป็นอีกหนึ่งปรากฏทางธรรมชาติของมนุษย์ และถือว่าเป็นวัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่ง สำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสมัยโบราณ ซึ่งมีความเจริญน้อย โดยเฉพาะทางด้านวิชาการ ทำให้ ‘ความเชื่อ’ จึงถือกำเนิดขึ้นมา จากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติของมนุษย์ Continue reading ความเชื่อทางธรรมชาติ อีกหนึ่งศาสตร์ที่มีมาแต่โบราณ
Category: ศาสนาน่ารู้
องค์ประกอบของศาสนา มีอะไรบ้าง ?
‘ศาสนา’ คือ ปรากฏการณ์ทางจิต ที่สร้างความเชื่อ ความศรัทธา ให้แก่สังคมหมู่มาก ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของคุณค่า ตลอดจนวัฒนธรรมหลายๆอย่าง มีความสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์อย่างแน่นเฟ้น โดยคำสอนเต็มไปด้วยความลึกซึ้งและมีองค์ประกอบมากมายหลายอย่าง แต่องค์ประกอบที่จัดว่ามีความสำคัญสูงสุดมี 5 เรื่อง ได้แก่… Continue reading องค์ประกอบของศาสนา มีอะไรบ้าง ?
ศาสนายูดาห์ กับศาสนาของชาวยิว
ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้เราได้ยินชื่อ ชาวยิว ที่เยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้สั่งฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวตายไปถึง 5 ล้านคน แท้จริงแล้วยิวเป็นชนชาติของอิสราเอลหรือในสมัยก่อนเรียกว่าชนเผ่าฮิบบรู ซึ่งในคัมภีร์ฮิบบรู ได้ระบุไว้ว่า ชาวยิวคือชนชาติ Continue reading ศาสนายูดาห์ กับศาสนาของชาวยิว
ลัทธิเต๋า จากความเชื่อสู่สมดุลของธรรมชาติ
เต๋า เป็นนามธรรม เกิดจากความเชื่อถือบูชาธรรมชาติ เต๋าในความหมายปรัชญาของศาสนา หมายถึง สิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งเป็นที่กำเนิดของสิ่งทั้งปวง ทั้งจักรวาล โลก ชีวิต ผู้ที่ก่อตั้งลัทธินี้คือหลีโอว หรือ ที่เรียกกันว่าเล่าจื้อ เล่าจื้อเป็นนักปรัชญาและเป็นศาสดาของลัทธิเต๋า Continue reading ลัทธิเต๋า จากความเชื่อสู่สมดุลของธรรมชาติ
ลัทธิขงจื๊อ คืออะไร และมีแนวคิดเช่นไร
ขงจื้อ เป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงในจีน เป็นผู้สั่งสอนและเขียนตำรา ในสมัยที่ขงจื้อมีชีวิตไม่ได้ถือว่าคำสอนนั้นเป็นศาสนา แต่หลังจากที่ขงจื้อสิ้นไป ผู้ที่ศรัทธาในคำสอนมีมากขึ้น จึงเกิดเป็นลัทธิ หรือศาสนาขงจื้อ Continue reading ลัทธิขงจื๊อ คืออะไร และมีแนวคิดเช่นไร
ประวัติ และ ความเป็นมา ของศาสนา ชินโต
หากคุณไปที่ประเทศญี่ปุ่น สิ่งที่เห็นได้ชินตา คือประตูเสาไม้สองเสาไม้สองอันพาดอยู่ด้านบนสีแดง หรือที่เรียกว่าโทริ แสดงว่าบริเวณนั้นคือศาลเจ้าซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาชินโต โทรินั้นมีมากมายเหลือเกิน นั่นหมายถึงคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยเลยที่นับถือศาสนานี้ ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงประวัติ ความเป็นมาของศาสนาชินโตกัน Continue reading ประวัติ และ ความเป็นมา ของศาสนา ชินโต
ประวัติ และความเป็นมาของวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
พระปฐมเจดีย์ เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญและทรงคุณค่าของจังหวัดนครปฐม ประวัติของพระปฐมเจดีย์มีมี่มายาวนานและเชื่อกันว่าพระปฐมเจดีย์เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ความเป็นมาของพระปฐมเจดีย์กล่าวกันว่า เริ่มต้นเมื่อสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งคณะสมณฑูตเดินมทางมาจากประเทศอินเดีย ผ่านมายังดินแดนแห่งนี้เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา และผู้ที่เดินทางมาถือพระมหาเถรที่ชื่อว่าพระอุตตระเถระ ได้ทรงมาตั้งรกรากเพื่อเผยแผ่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นี่เป็นเวลาในช่วงพุทธศตวรรตที่ 3 ก็คือในช่วงปี พ.ศ. 200-299 นั่นเอง พระปฐมเจดีย์ได้ถูฏสร้างขึ้นโดยความตั้งใจของพระอุตตระเถระในเวลานั้น ลักษณะของพระปฐมเจดีย์เป็นพระเจดีย์ที่เอาแบบมาจาก เจดีย์สาญจิแห่งประเทศอินเดีย รูปทรงเป็นบาตรคว่ำ
ครั้งเมื่อพระจอมเกล่าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ได้ทรงผนวกและธุดงส์มาถึง ทรงนมัสการพระเจดีย์สังเกตเห็นยอดปรางค์ที่สูง 42 วา ทรงเกิดความศรัทธานับแต่นั้น เมื่อทรงได้ขึ้นครองราชจึงได้ทรงดำริให้สร้างพระเจดีย์ครอบลงบนเจดีย์องค์เดิมมีความสูง 120 ซม.และยังให้สร้างพระวิหารคตและระเบียงรายล้อมรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ทว่าสิ้นรัชสมัยเสียก่อนที่งานจะเสร็จ ช่วงรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงสานต่อความตั้งใจของพระราชบิดา และมีการสร้างเพิ่มเติมส่วนของหอระฆัง จากการปฎิสังขรครั้งใหญ่ ในช่วงรัชกาลที่ 4 สร้างหอระฆังใหม่ในรัชกาลที่ 5 พร้อมประดับกระเบื้องปฎิสังขรพระวิหาร เขียนภาพฝาผนังในช่วงรัชกาลที่ 6 มาถึงรัชกาลที่ 7ก็ทรงให้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ แต่ในส่วนของพระปฐมเจดีย์นั้นไม่ได้มีการบูรณะใหม่นับแต่สมัย รัชกาลที่ 4 มาก็เรียกได้ว่ากว่า 100 ปีผ่านไปแล้ว จึงได้มีการซ่อมแซมใหม่โดยกรมศิลปากรในปีพ.ศ. 2518 ใช้เวลาถึง6 ปีมาเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2524
ความสำคัญที่แท้จริงขององค์พระปฐมเจดีย์คือ เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอันสำคัญของบ้านเมืองเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่โบราณคือพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ถูกค้นพบโดยจพรมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเป็นพระมงกุฏราชกุมาร ในปี พ.ศ. 2452 ที่วัดโบราณในเมืองศรีสัชนาลัย พระพุทธรูปองค์นี้มีความเสียหายและจมอยู่ใต้พื้นแต่ทรงสังเกตเห็นว่าสวยงามยิ่งจึงได้อัญเชิญกลับมายังกรุงเทพ จนกระทั่งได้ทรงครองราชจึงให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัติวงศ์ ปฎิสังขรให้สมบูรณ์งดงามและจึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่นี่ มีพระอังคารของในหลวง ร 6 อยู่ใต้ฐานพระด้วย
มัสยิด ศาสนสถานที่เป็นแหล่งรวมใจของชาว
หากจะนึกถึงสถานที่ที่เป็นศาสนสถานและศูนย์รวมใจของชาวมุสลิมผู้นับถือศาสนาอิสลามแล้วก็คงต้องเอ่ยถึงชื่อสถานที่ที่เรียกกันว่า มัสยิด มัสยิดเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมในรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ คือมีหลังคาทรงโดมผสมผสานกับตัวอาคารทรงเหลี่ยมที่ดูน่าเกรงขามและมั่นคง ประตูและหน้าต่างทรงโค้ง มัสยิด เป็นคำที่ใช้เรียกวิหารของอิสลาม มาจากภาษาอาหรับ มีความหมายว่า สถานที่แห่งการกราบ มัสยิดเป็นศาสนสถานของชุมชนที่สร้างขึ้นเพื่อทำศาสนกิจและประกอบพิธีกรรมของชาวมุสลิม เช่น การละมาด การดุอา หรืออธิษฐานวิงวอนทั้งยังใช้เป็นที่สอนคัมภีร์อัลกุรอ่านแก่ชาวมุสลิม เป็นสถานที่จัดเลี้ยง พบปะสังสรรค์ทำกิจกรรมกันในชุมชนมุสลิม ประกอบพิธีแต่งงาน ทำบุญ และยังเป็นสถานที่พักพิงของคนไร้บ้านอีกด้วย
มัสยิดที่สำคัญ ๆ ของโลกนั้นได้แก่ มัสยิดอัลฮะลอม ตั้งอยู๋ในนครเมกกะห์ ประเทศซาอุดิอารเบีย เพราะที่นี่เป็นที่ตั้งของ กะอุบะห์ มะกอมอิบรอฮิม ซึ่งก็คือรอยเท้าแห่งศาสดาอิบรอฮิม เป็นสถานที่ที่ชาวมุสลิมทั่วโลกต้องการมาเป็นจุดหมายสักครั้งในชีวิต มัสยิดสำคัญแห่งต่อมาก็คือ มัสยิด อัลมัสญิด อันนะบะวีย์ เป็นสถานที่ที่มีร่างของท่านมูฮัมมัดฝังอยู่และ มัสยิดที่หลายคนอาจได้ยินชื่อกันบ่อย ๆ อีกแห่งก็คือ มัสยิดอัลมัสญิด อัลอักศอ เป็นอีกแห่งสำคัญมากในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม เพราะว่าเป็นสถานที่ที่เชื่อกันว่าท่านมูฮัมมัดได้เสด็จขึ้นสู่สรวงสวรรค์ที่นั่น มิติของมัสยิดที่เป็นดังศูนย์รวมจิตใจและสายใยของชาวมุสลิมนั้นเป็นด้วยเหตุผลต่าง ๆ ก็คือ
- 1. เป็นสถานที่สำคัญที่รวมความศรัทธาและศักดิ์สิทธิ์
มัสยิดแต่ละแห่งเป็นเสมือนวิหารของพระเจ้าแห่งศาสนาอิสลาม เป็นสถานที่ที่ชาวมุสลิมจะได้เข้ามาเฝ้าพระเจ้าของมุสลิมผ่านศาสนพิธีต่าง ๆ เช่นการทำละมาดและดุอาที่มีอยู่เป็นประจำ เป็นสถานที่ที่ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่มีความหมายต่อชีวิตเช่นการประกอบพิธีแต่งงาน เป็นที่เรียนรู้คัมภีร์อัลกุรอ่านเพี่อความซาบซึ้งและเข้าถึงแก่นของศาสนาและคำสอนของพระเจ้า
- 2. เป็นสถานที่แห่งชุมชนที่จะได้สัมพันธ์สนิทกัน
สำหรับชาวมุสลิม มัสยิดเป็นยิ่งกว่าศาสนสถานเท่านั้น แต่เป็นเสมือนห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่ของบ้านหลังใหญ่สำหรับครอบครัวมุสลิมทั้งชุมชน ทุกคนได้เข้ามาพบปะ พูดคุย ร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ลูกหลานเยาวชนได้เติบโตและหล่อหลอมวัฒนธรรมความเชื่อคำสอนแก่ชนรุ่นหลังที่นี่
นอกจากความวิจิตรงดงามของมัสยิด ที่ถูกรังสรรค์ ออกแบบตกแต่งด้วยความรักความศรัทธาของชาวมุสลิม มัสยิดหลาย ๆ แห่งเกิดจากเงินของคนในชุมชนที่ศรัทธาและต้องการสร้างมัสยิดที่สวยและดีที่สุดถวายแด่พระเจ้า มัสยิดจึงเป็นเสมือนจิตวิญญาณแห่งมุสลิมและศาสนาอิสลาม
พระอุโบสถ แตกต่างกับวิหารอย่างไร
ประเทศไทยของเราได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธ เพราะหากจะดูตามประชากรในประเทศของเราเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ มากกว่า 95% ในสายตาของคนทั่วโลกก็มองว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่นับถือศาสนาพุทธอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะไปที่ไหน ส่วนใดของประเทศไทยก็จะพบกับวัดวาอารามอยู่ทั่วไปหมด วัดแต่ละภูมิภาคก็มีทั้งที่เหมือนและแตกต่างกันในด้านของสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ๋อาจจะยังไม่รู้ความแตกต่างที่ชัดเจน แม้ว่าจะเข้าออกวัดกันมาตั้งแต่จำความได้ก็คือ ความแตกต่างระหว่าง พระอุโบสถ หรือโบสถ์ กับวิหาร หรือบางคนอาจจะเข้าใจผิดว่าจะโบสถ์หรือวิหารก็เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่แห่งเดียวกัน แต่นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด
พระอุโบสถ กับ วิหารมีความแตกต่างกัน เริ่มจากการสังเกตว่าไหนคือพระอุโบสถและไหนคือ พระวิหาร เราจะสังเกตได้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นพระวิหารก็ต่อเมื่อได้เห็นพระเสมาที่ตกแต่งอยู่เหนือตัวอาคาร เฉพาะวิหารเท่านั้นจึงจะมีเสมา แต่พระอุโบสถจะไม่มีเสมา และเป็นไปได้ว่าวัดบางวัดอาจจะมีเฉพาะพระอุโบสถหรือมีเฉพาะวิหารอย่างเดียว ไม่จำเป็นที่จะต้องมีทั้งสองอย่าง แต่ถึงอย่างนั้นก็ดีทั้งพระอุโบสถและวิหารมีความสำคัญในการใช้งานที่ทั้งเหมือนและแตกต่างกัน ในทางเปรียบเทียบแล้ว วิหารจะดูศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่กว่าพระอุโบสถ
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวิหารและพระอุโบสถอย่างชัดเจนก็คือ
1.ถ้าเป็นวัดในสมัยโบราณจะนิยมสร้างวิหารให้ใหญ่กว่าพระอุโบสถคำว่าวิหาร มีรากศัพท์และความหมายถึงที่อยู๋อาศัย ซึ่งเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า วิหารจึงเปรียบได้กับพระราชวังที่แตกต่างกับพระอุโบสถ
- 2. การใช้งานของวิหารและพระอุโบสถก็แตกต่างกันวิหารในอดีตจะเป็นที่ใช้งานของทั้งพระสงฆ์และฆารวาส ที่จะมาประชุมและทำศาสนกิจร่วมกัน แต่โบสถ์ในสมัยโบราณนั้นเป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ใช้เท่านั้น อาจจะใช้ในการสวดการทำวัดเป็นต้น ซึ่งคนทั่วไปไม่ได้เข้ามาข้องเกี่ยวและใช้ร่วมจึงไม่จำเนต้องมีขนาดใหญ๋ดังเช่นวิหาร
- 3. วิหารเป็นสถานที่สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปเพราะวิหารคือสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า จึงเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปต่าง ๆ เพื่อให้คนที่มาได้เข้ามาสักการะด้วย ในขณะที่โบสถ์ไม่จำเป็นต้องมีพระพุทธรูปอยู่
ในปัจจุบันวัดบางแห่งอาจจะมีเฉพาะพระอุโบสถหรือวิหาร ชาวบ้านและคนทั่วไปอาจจะใช้พระอุโบสถหรือวิหารในการทำศาสนกิจและสิ่งต่าง ๆ รวม ๆ กันไม่ได้แยกแยะก็มี อาจจะเป็นเพราะสถานที่และงบประมาณรวมถึงการปฎิบัติที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยนั่นเอง
โบสถ์และวิหารแตกต่างกันอย่างไร
สำหรับคนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาหรือถูกเรียกว่าพุทธศาสนิกชนทุกคนเป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับวัดมาตั้งแต่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดที่หลายๆ ครอบครัวมักให้พระเป็นคนดูดวงชะตา ตั้งชื่อให้ การทำบุญวันเกิดที่ทุกปีคนส่วนใหญ่หากไม่ใส่บาตรก็มักจะชอบไปทำบุญที่วัด ชายไทยทุกคนเมื่ออายุเกิน 20 ปีบริบูรณ์ก็ต้องเข้าพิธีอุปสมบทเพื่อเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา หรือแม้แต่ตอนเสียชีวิตก็ต้องมีการจัดพิธีกรรมต่างๆ ที่วัดอีกเช่นเดียวกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่วัดคือสถานที่สำหรับชาวพุทธอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงวัดน่าจะมีใครหลายคนเกิดความสงสัยอยู่ไม่มากก็น้อยถึงสถานที่ต่างๆ ภายในวัดที่แม้จะเป็นชื่อเรียกที่ถูกเรียกกันมาอย่างยาวนานแต่มีใครพอจะแยกออกหรือไม่ว่า ระหว่างโบสถ์กับวิหาร มีความแตกต่างกันอย่างไร เมื่ออ่านมาจนถึงบรรทัดนี้เชื่อว่าผู้ที่อ่านอยู่ก็น่าจะมีการหยุดและคิดสักนิดว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จริงแล้วศัพท์ทั้ง 2 คำนี้มันมีความหมายที่แตกต่างกันทั้งในด้านของสถาปัตยกรรมและการใช้งานด้วย
แม้ภายนอกสถาปัตยกรรมตลอดจนเรื่องของเครื่องประดับต่างๆ ที่ถูกตกแต่งเอาไว้ระหว่างพระอุโบสถหรือโบสถ์ที่เราเรียกกันติดปากกับพระวิหาร แทบจะไม่ได้มีความแตกต่างอะไรกันมากมายเลย ในความเป็นจริงสิ่งก่อสร้างทั้งสองแบบนี้ต่างก็ใช้หลักเกณฑ์ระบบแบบแผนเดียวกันแทบจะทุกประการ รูปลักษณ์ภายนอกที่ดูแตกต่างกันอาจจะเป็นที่โบสถ์จะมีใบเสมา อยู่ในบริเวณนั้นซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงเอาไว้อย่างชัดเจนว่าสถานที่แห่งนี้คือที่ของสงฆ์ เป็นสถานที่ที่สงฆ์จะเอาไว้ใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ หรือพูดง่ายๆ ก็คือเป็นสถานที่ที่เอาไว้ประกอบพิธีกรรมระหว่างสงฆ์กับสงฆ์นั่นเอง ส่วนวิหาร จะไม่มีใบเสมาอยู่ที่บริเวณดังกล่าวก็หมายความว่าสถานที่แห่งนี้คือการเอาไว้ปฏิบัติกิจระหว่างสงฆ์กับฆราวาส ภาพที่เราเห็นได้ชัดเจที่สุดเช่น โบสถ์ จะเอาไว้สำหรับการอุปสมบท, การทำวัตรเช้า, ทำวัตรเย็น เป็นต้น ส่วนวิหารจะมีไว้สำหรับการสดพระอภิธรรมศพ, การทำสังฆทาน เป็นต้น
นี่คือสิ่งที่สามารถสรุปความแตกต่างระหว่างโบสถ์กับวิหารได้อย่างลงตัวสุดๆ สิ่งที่เราเข้าใจคือนอกจากเรื่องของรูปแบบแล้วก็ยังมีเรื่องของการประกอบพิธีกรรมที่แตกต่างกันด้วย นี่จึงเป็นสิงที่สามารถบ่งบอกได้อย่างชัดเจนเพื่อที่ว่าหากใครยังสงสัยอยู่จะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าระหว่างโบสถ์กับวิหารมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ถึงกระนั้นสำหรับชาวพุทธทุกคนการเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง