เรื่องราวความเชื่อ ความหมายของศาสนา องค์ประกอบของศาสนาทั่วโลก ศาสนาเชนนับถืออะไร

ศาสนาเชน หรือ อีกชื่อคือ ไชนะ ซึ่งก็แปลว่า “ผู้ชนะ” นั่นเองหลายคนสงสัยไหมว่าคำว่า เชนนั้นมาจากไหนคำว่าเชน คือ ชื่อของศาสดาผู้ที่ทำการก่อตั้งศาสนาซึ่งในการตั้งชื่อว่าศาสนาเชนคือการที่ให้เกียรติแก่ศาสดาของศาสนาสำหรับอินเดียในปัจจุบันนั้นมีศาสนาที่สำคัญอยู่ 3 ศาสนาด้วยกัน ซึ่งนั้นก็ได้แก่ ศาสนาเชน พุทธศาสนา และ พราหมณ์ – ฮินดู หากถามถึงศาสนาเชนแล้ว ศาสนานี้ได้ถือกำเนิดขึ้นที่อนุทวีปของอินเดียก่อนคริสศักราชเสียด้วยซ่ำ หรือราวๆในศตวรรษที่ 6 สำหรับศาสนาเชนนั้นถือได้ว่าเป็นศาสนาที่มีการคัดค้านศาสนพิธีรวมไปถึงความเชื่อต่างๆในคัมภีร์พระเวทของศาสนา พราหมณ์ – ฮินดู อย่างเช่น ในเรื่องความเชื่อที่ว่า ศาสนาเชนนั้นมีประวัติความเก่าแก่มาอย่าช้านาน เพราะ พระมหาวีระ(องค์ตรีถังกร)นั้นเป็นผู้ที่สร้างทางเพื่อข้ามพ้นไปเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ในศาสนาเชนและเป็นองค์ศาสดาองค์สุดท้ายดังนั้นก่อนหน้าพระมหาวีระนั้นมีศาสดาถึง 23 องค์ด้วยกันจึงทำให้มองว่าศาสนาเชนนั้นมีความเป็นมาอย่างยาวนานสำหรับศาสนิกชนนั้นเอง

ว่ากันว่าเมื่อศาสดามหาวีระนั้นมีพระชนมายุได้เพียง 19 พรรษา พระบิดาก็ทรงได้จัดให้มีการอภิเษกสมรสจนมีพระธิดา 1 คน กระทั่งพระมหาวีระนั้นมีพระชนมายุได้ 28 พรรษา พระบิดาและพระมารดาของพระองค์นั้นก็ได้สิ้นพระชนม์ลง จากการอดอาหารตามข้อวัตรปฏิบัติของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นบุญอย่างยิ่งทำให้พระมหาวีระนั้นทรงมีความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมากจนถึงกับได้ทำการสละพระชายาและพระธิดาของตนและทำการเปลี่ยนผ้าคลุมกายให้เหมืนดั่งนักพรต และได้ทำการเสด็จออกจากพระนคร พร้อมทรงประกาศมหาปฏิญญาในวันนั้นว่าจะทรงไม่พูดกับใครแม้แต่คำเดียวเป็นเวล่า 12 ปี จนพระองค์นั้นได้บรรลุความรู้ขั้นสูงสุดที่เรียกกันว่า “เกวลญาณ” ซึ่งถือว่าได้เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งสิ้นซึ่งถือว่าได้เป็นพระอรหันต์หรือผู้ชนะทั้งหมดทั้งสิ้น

หลังจากที่พระมหาวีระได้ทรงบรรลุแล้วนั้นจึงได้ทรงพิจรณาเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำการละปฏิญญานั้นให้กลับมาสู่สภาวะเดิม เพื่อที่จะได้ทำการพูดคุยกับผู้คนทั้งหลายเพื่อที่จะได้ช่วยกันปฏิรูป ทั้งความคิดและการประพฤติ ปฏิบัติ ของคนในสังคมเสียใหม่จึงได้เป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศศาสนาเชน หรือ ไชนะ ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ชนะ นั้นเองพระองค์ทรงใช้เวลาในการเผยแพร่และสั่งสอนสาวกไปตามนิคมและแคว้นต่างๆ กว่า 30 ปี และได้ทรงเข้าสิทธศิลา ซึ่งสิ่งนี้เปรียบได้กับนิพพานของศาสนาพุทธ หรือ มรณภาพ ในขณะที่พระองค์นั้นมีพระชนมายุ 72 พรรษา ในช่วงเวลาก่อนปีพุทธศักราชที่ 29 ที่เมืองปาวา (สาธารณรัฐมัลละ)ทำให้ในเวลาต่อมานั้นเมืองนี้ได้กลายเป็นที่แสวงบุญแก่ศาสนิกชนที่นับถือศาสนาเชนทุกคน

สำหรับในการประกาศศาสนาเชนของพระมหาวีระนั้นในบางอย่างก็ยังมีความคล้ายคลึงและความเหมือนที่มีมาก่อนอยู๋แล้วในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู แต่ก็ยังคงมีหลายอย่างอีกเช่นกันที่เป็นคำสอนใหม่และรัดกุมกว่าในศาสนาพราหมณ์ ด้วยความที่พระมหาวีระนั้นทรงเป็นนักเทศน์ปาฐกถาที่มีความสามารถ จึงทำให้ผู้คนทั้งหลายเห็นความจริงและเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาเชนและได้กลายมาเป็นสาวกมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีผู้ศรัทธาและเป็นสาวกของศาสนาเชนอยู่ประมาณ 2,000,000  คน ซึ่งได้กระจัดกระจาย อยู่ในทุกรัฐของประเทศอินเดีย ซึ่งผู้ที่นับถือศาสนาเชนในส่วนมากแล้วจะอยู่ทางแถบภาคตะวันตกของประเทศอินเดีย เช่น  มหาราษฎระ อุดรประเทศ มัธยมประเทศ ไมซอร์ ส่วนในต่างประเทศนั้นยังไม่มีศาสนิกชนที่มีการนับถือศาสนาเชน

เล่าเรื่องตํานานเทพกรีก

หากจะถามว่าตำนานเทพเจ้าฝั่งตะวันตกเรื่องใดเราคุ้นเคยมากที่สุด ตำนานเทพกรีก น่าจะเป็นคำตอบแรกๆที่ทุกคนนึกถึง ไม่ว่าจะเป็น สามเทพแห่งโอลิมปัสอย่าง เทพซุส, เทพโพไซดอน, เทพฮาเดส และทวยเทพองค์อื่นๆอีกมากมายลดหลั่นกันลงไป ตำนานเทพกรีกเป็นอีกหนึ่งตำนานที่ถูกหยิบขึ้นมาดัดแปลงแตกแขนงออกไปมากมายทั้งรูปแบบนิยาย จนถึงภาพยนตร์ขึ้นจอเงินก็มีมาแล้วหลายเรื่อง เรามาฟังเรื่องเล่าตำนานเทพกรีกกันดีกว่า

เทพซุส

เราขอเริ่มต้นจากเทพที่มีพลังมากที่สุดบนยอดเขาโอลิมปัส เทพซุส เป็นตัวแทนสายฟ้า ตัวซุสเองเป็นเทพที่มีพลังแก่กล้าอาวุธของเค้าก็คือสายฟ้าคำราม ที่หากเค้าโกรธก็พร้อมจะขว้างสายฟ้าไปยังเป้าหมายได้ทันที ตัวซุสเองนั้นมีดินแดนปกครองด้วย นั่นก็คือ ท้องฟ้าทั้งหมด เทพซุส เกิดมาจาก เทพโครนัส และ เทพีรีอา ซึ่งขอเล่าย้อนไปว่า เทพโครนัสได้เคยผิดสัญญาครั้งหนึ่งโดยมีคำสาปติดตัวมาว่า เค้าจะต้องเจอการแย่งชิงบัลลังก์จากผู้เป็นลูกไปตลอดการนั่นทำให้ทุกครั้งที่เทพีรีอาท้อง เทพโครนัสจะกลืนเด็กลงท้องเนื่องจากกลัวความสาปแช่งนั้น แต่ว่ามีคนหนึ่งหนีรอดไปได้ก็คือ ซุส นั่นเอง หลังจากหนีมาได้ ซุส ก็กลับมาช่วยน้องๆที่เหลืออีกห้าคน แล้วจากนั้น ซุส ก็ร่วมมือกับเทพองค์อื่น แย่งบัลลังก์มาจากพ่อของตัวเองตามคำสาปแช่งเป็นจริงในที่สุด

เทพเจ้าโพไซดอน

เทพเจ้าอีกหนึ่งองค์ที่มีอิทธิฤทธิ์มากไม่แพ้กัน เทพโพไซดอน เป็นผู้ปกครองท้องทะเล มหาสมุทร และผืนน้ำทั้งหมด ตามตำนานเทพโพไซดอน จะมีรูปลักษณ์เป็นชายวัยกลางคน มีหนวดเครา มาพร้อมกับอาวุธ นั่นก็คือ สามง่าม ที่มีอิทธิฤทธิ์มาก ตามตำนาน เทพโพไซดอน จะทำหน้าที่ดูแลผู้คนบนท้องทะเลไม่ให้เรือล่ม คอยช่วยเหลือชาวประมงให้ปลอดภัย อีกหนึ่งตำนานมีเรื่องเล่าว่า เทพโพไซดอน เคยคิดทำการใหญ่ด้วยการโค่นล้มเทพซุสด้วยแต่ไม่สำเร็จ จึงต้องถูกลงโทษด้วยการไปสร้างกำแพงเมืองทรอย

เทพฮาเดส

เทพองค์ที่สาม มีอิทธิฤทธิ์ไม่แพ้สององค์แรกเลย เค้าปกครองดินแดนแห่งผู้ตาย เค้าจะทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาดวงวิญญาณของคนที่ตายไปแล้ว ว่ามีความผิดสถานใด และควรไปชดใช้ความผิดที่นรกขุมไหน การทำหน้าที่และถิ่นที่อยู่อาศัยของ ฮาเดส ค่อนข้างจะตรงข้ามกับเทพองค์อื่นในเขาโอลิมปัส นั่นทำให้เค้ามักจะไม่ได้รับการต้อนรับที่ดีเท่าไรยามที่ต้องขึ้นไปบนนั้น นั่นทำให้ตัวเค้าตามตำนานมักจะบอกไปทางเดียวกันว่า ไม่ค่อยขึ้นไปบนเขาโอลิมปัสสักเท่าไร นอกจากนั้นนิสัยของเทพเจ้านรก ฮาเดส ยังค่อนข้างแตกต่างอีกด้วย กล่าวคือ เค้าจะเป็นเทพเจ้าที่มีบุคลิกเย็นชา แข็งแกร้าว ไร้ความปรานี (เนื่องจากต้องดูแลคนตาย จึงต้องไร้จิตใจให้ตัดสินทุกอย่างเป็นธรรมมากที่สุด

อีกหนึ่งเรื่องราวของฮาเดส ที่น่าจดจำอย่างมาก คงเป็นเรื่องสตรีที่ครองคู่กัน ด้วยการอยู่คนเดียวและอยู่ในนรกอันหนาวเหน็บทำให้ไม่ค่อยมีเทพองค์ใดอยากอยู่ด้วยมากเท่าไร ฮาเดส เลยไร้คู่ครองมาตลอด จนกระทั่งเค้าได้พบเจอกับ เทพชื่อว่า เพอร์เซโฟนี ฮาเดสเห็นความสวยแล้วทนไม่ไหว ถึงกับฉุดคร่าลงไปอยู่ในนรกด้วยกัน ร้อนถึง เทพซุส ต้องออกมาเคลียร์ไกล่เกลี่ยเรื่องนี้จนสุดท้ายตอนจบตำนานนี้ก็คือ เทพฮาเดส ต้องคืนเพอร์เซโฟนีให้แก่พระมารดาของเธอ แต่ด้วยความเจ้าเล่ห์ ฮาเดสก็แอบสอดไส้เงื่อนไขบางอย่างทำให้เพอร์เซโฟนีต้องกลับไปหาฮาเดสปีละ 3 เดือนตลอดไป ร้ายใช่เล่นเหมือนกันนะเนี่ย

เล่าเรื่องตํานานเทพเจ้าจีน

เรื่องราวความเชื่อตำนานต่างๆ เป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกมุมโลก เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมมนุษย์เลยก็คงจะไม่ผิดเท่าไร ตำนานส่วนใหญ่มักจะมีเรื่องเกี่ยวกับอภินิหารจนยกย่องบุคคลในเรื่องให้กลายเป็นเทพเจ้าตามแนวคิดของตัวเองกันไป หนึ่งในตำนานเทพเจ้าที่คนไทยรู้จักกันดี ก็น่าจะเป็นตำนานเทพเจ้าจีน เรื่องราวเกี่ยวกับตำนานเทพเจ้าจีนมีตรงไหนน่าสนใจกันบ้าง เราคัดมาบางส่วนเล่าให้ฟังตรงนี้แล้ว

ตำนานเทพเจ้ากวนอู

ตำนานเทพเจ้าองค์แรกที่เราขอนำเสนอ เชื่อว่าใครหลายคนน่าจะเคยเห็นรูปปั้น รูปภาพ รูปหล่อ หรือวัตถุมงคลที่เป็นตัวแทนของเทพเจ้าองค์นี้กันบ่อยอยู่ นั่นก็คือ เทพเจ้ากวนอู โดยเทพเจ้าองค์นี้เป็นตัวแทนของความซื่อสัตย์ ความเก่งกาจในเชิงรบ ตำนานของเทพเจ้ากวนอูนั้นมาจากวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก ตอนที่น่าจะเป็นเรื่องเล่าตำนานได้ดีที่สุดน่าจะเป็นการที่เมื่อได้ยินข่าวการรอดตายของเล่าปี่ กวนอูไม่รอช้ารีบควบม้าฝ่าด่านกองทหารโจโฉมากมายแสดงออกถึงความเก่งกาจเชิงยุทธที่เหนือกว่าใครทั้งปวง ทิ้งความสะดวกสบายที่โจโฉมอบให้กลับไปหาเล่าปี่อย่างไม่ลังเล ด้วยความซื่อสัตย์ต่อพี่น้องร่วมสาบาน

ตำนานพระยูไล

ตำนานเทพเจ้าองค์ต่อมา องค์นี้ก็ถือว่าเป็นองค์ที่เราได้ยิน ได้เห็น กันบ่อยเหมือนกันหากพูดถึงความเชื่อของชาวจีน เป็น เทพเจ้าองค์พระยูไล ตำนานเทพเจ้าองค์นี้เชื่อกันว่า เป็นอีกหนึ่งปรางค์หรืออีกหนึ่งชาติภพของพระพุทธเจ้า ตามตำนานจะเล่าถึงการลงมาปราบมาร ช่วยเหลือมนุษย์อย่างมากมายของพระยูไล ทั้งท่านมาด้วยตัวเองในตำนาน หรือ ไปช่วยผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากในตำนานอื่นอย่างเรื่องไซอิ๋ว เป็นต้น

เทพเจ้าจี้กง

เทพเจ้าจี้กง ถือว่าเป็นเทพเจ้าที่ออกจะแปลก และอยู่นอกกรอยความคิดของคนทั่วไปสักหน่อย เนื่องจากรูปลักษณ์จะเป็นชายแก่หน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ มีไม้เท้าเก่าๆสะพายน้ำเต้าไว้ข้างหลัง ดูไม่เหมือนจะมีพลังแห่งเทพ ตามตำนานเล่าว่า นามเดิมชื่อว่า หลี่ ซิวหยวน บวชเป็นพระที่วัดหลิงอื่น เมืองหางโจว แต่มักจะประพฤตินอกรีตทำให้ถูกขับอกจากวัด จนต้องกลายเป็นชายเร่ร่อนตามสภาพ แต่ว่าในสภาพแบบนั้นท่านก็ยังเป็นคนใจดีมีเมตตา ใช้อิทธิฤทธิ์ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยากเสมอ ทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว

เจ้าแม่จุ้ยบ้อเนี่ย

เทพเจ้าองค์นี้ หลายคนอาจจะไม่คุ้นชื่อสักเท่าไร แต่ว่าตามตำนาน นี่ถือว่าเป็นเทพเจ้าที่มีอิทธิฤทธิ์มีความสำคัญมากเหมือนกัน เทพเจ้าองค์นี้เปรียบได้กับพระแม่คงคาเลยทีเดียว ชื่อของเทพเจ้าองค์นี้แปลว่า เจ้าแม้ท้ายน้ำ แต่ในเมืองไทยเราอาจจะเรียกในอีกชื่อว่า เจ้าแม่ทับทิบ หรือ เทวนารี

เทพเจ้า ฮก ลก ซิ่ว

เทพเจ้าที่เรามักจะเห็นการมอบรูปปั้น หรือ วัตถุมงคลเพื่อเป็นตัวแทนให้กับงานวันมงคลเสมอของชาวจีน เทพเจ้า ฮก ลก ซิ่ว จะเป็นเทพเจ้าสามองค์ยืนเรียงกัน เป็นตัวแทนของ บุญวาสนา , โชคลาภเงินทอง และ อายุยืน เทพทั้งสามองค์ก็มีเรื่องราวตำนานแตกต่างออกไป

เทพเจ้าฮก เดิมชื่อว่า ก๋วยจื่องี้ ทำงานเป็นข้าราชการตำแหน่งอัครเสนาบดี ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม รับใช้งานราชการนานหลายแผ่นดิน ผลงานเป็นที่ประจักษ์ทำให้ฮ่องเต้มีราชโองการปูนบำเหน็จให้อยู่เนือง พร้อมกับได้รับการแซ่ซ้องสรรเสริญเรื่องการทำงานอยู่ตลอด

เทพเจ้าลก ตำนานเล่าว่า เดิมท่านชื่อว่า เจี่ยวช้ง เป็นมหาเศรษฐีทำงานร่ำรวยด้วยการค้าขาย มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยราชวงศ์ถัง ท่านมีเงินมาก แต่ท่านก็เป็นคนใจบุญ มีเมตตาธรรม ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ด้วยการบริจาคทรัพย์สมบัติอยู่หลายครั้ง จนกลายเป็นบุคคตัวอย่าง เป็นที่นับถือของชาวบ้านจนถึงฮ่องเต้

เทพเจ้าซิ่ว เป็นตัวแทนของอายุยืน ตามตำนานเชื่อกันว่านี่คือผู้ชายที่อายุยืนมากที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา จึงนำท่านมาเป็นตัวแทนของอายุยืน ดังกล่าว

ลัทธิเพกัน คืออะไรและมีที่มาอย่างไรมาหาคำตอบไปพร้อมกัน

โลกของเรามีความเจริญก้าวหน้าไปในทุกๆ วัน อีกทั้งยังมีการกำเนิดของมนุษย์ขึ้นมาจำนวนมหาศาล โดยมนุษย์แต่ละคนต่างก็มีความคิดความเชื่อเป็นของตัวเอง จึงทำให้เกิดศาสนาหรือลัทธิต่างๆ ใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย เพราะบุคคลหลายคน มีความเชื่อที่ตรงกัน และมารวมกลุ่มกันพร้อมเปลี่ยนประสบการณ์ แชร์ในเรื่องที่ตนเองเชื่อ สำหรับวันนี้เราจะมาแนะนำอีก 1 ลัทธิ ให้คุณผู้อ่านได้รู้จักกัน Continue reading ลัทธิเพกัน คืออะไรและมีที่มาอย่างไรมาหาคำตอบไปพร้อมกัน

เปลี่ยนศาสนา ทํายังไง อีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัย

ศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน ทุกศาสนามีหลักคำสอนที่ชี้นำเราให้ “เป็นคนดี” แต่พวกเราส่วนใหญ่เกิดมาพร้อมกับศาสนาที่นับถือตามบรรพบุรุษ ด้วยสาเหตุนี้เอง ทำให้บางคนเมื่อได้รู้จักกับศาสนาต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย มีหลักคำสอนและปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส น่าศรัทธา ก็เกิดอยากที่จะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาที่ตนเลือกจะนับถือ บนโลกของเรานี้มีศาสนาสำคัญๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม วันนี้เราจะมาดูว่า ในการเปลี่ยนศาสนาทำอย่างไรบ้าง Continue reading เปลี่ยนศาสนา ทํายังไง อีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัย

‘ศาสนาซิกข์’ มีต้นกำเนิดมาจากใหน และมีคำสอนอย่างไรบ้าง

ศาสนาซิกข์’ จัดเป็นศาสนาสำคัญหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยคำว่า ‘ซิกข์’ มาจากภาษาสันสกฤต มีความหมายว่าแนวทางหรือแบบแผน มีต้นกำเนิดในแคว้นปัญจาบ ทางตอนเหนือของอินเดีย ในช่วงคริสต์ศตวรรษ 15 โดยท่านคุรุศาสดาพระองค์แรก ซึ่งได้รับคำนินิยามว่าเป็นทั้งศาสนาเอกเทวนิยม และ พหุเทวนิยม Continue reading ‘ศาสนาซิกข์’ มีต้นกำเนิดมาจากใหน และมีคำสอนอย่างไรบ้าง

ตีแผ่การล่าแม่มดในยุโรปยุคมืด อีกหนึ่งความโหดร้ายในประวัติศาสตร์

ย้อนไปในช่วงยุคกลาง ที่มีฉายาว่ายุคมืด มนุษย์ยังคงมีความกลัวต่อสิ่งที่ตนไม่รู้จักอยู่ ทั่วยุโรปตกอยู่ภายใต้การปกครองของศาสนจักร ในปี ค.ศ.1208 ณ เมือง Albi ซึ่งอยู่ทางใต้ของฝรั่งเศส ก็ได้เกิดนิกายใหม่ขึ้นมา ทำให้พระสันตปาปาทรงไม่พอใจเป็นอย่างมาก และขอความร่วมมือกับกษัตริย์ฝรั่งเศสเพื่อกวาดล้างเมืองนี้จนราบเป็นหน้ากลอง Continue reading ตีแผ่การล่าแม่มดในยุโรปยุคมืด อีกหนึ่งความโหดร้ายในประวัติศาสตร์

ศาสนา กับ ลัทธิ มีความแตกต่างกันอย่างไรกันนะ

ความเชื่อเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แม้จะมองไม่เห็น แต่ส่งผลอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมอย่างมาก หลักของศาสนาหรือลัททธิบางอย่างส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรม การกระทำของมนุษย์คนนั้นได้เลย ซึ่งคำว่า ศาสนา กับ ลัทธินั้น แม้จะคล้ายกันแต่ความจริงแล้วมีข้อแตกต่างกันอยู่ สองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร เรามาวิเคราะห์กัน

ลัทธิ

Continue reading ศาสนา กับ ลัทธิ มีความแตกต่างกันอย่างไรกันนะ

พุทธศาสนา กับความเชื่อในสังคมไทย อะไรควรเปลี่ยน

สังคมไทยต้องยอมรับตามตรงว่าเป็นสังคมแห่งความเชื่อ เรามีความเชื่อทางศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ยังไม่รวมถึงแนวคิดของลัทธิต่างๆที่เข้ามาในประเทศไทยอีกมากมาย ความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับศาสนาพุทธต้องยอมรับว่าควรถึงเวลาเปลี่ยนแปลงบ้างได้แล้วเพื่อตอบสนองบริบทที่เปลี่ยนไปของสังคม มีอะไรบ้างล่ะที่ต้องเปลี่ยน

Continue reading พุทธศาสนา กับความเชื่อในสังคมไทย อะไรควรเปลี่ยน

‘แม่น้ำคงคา’ ความเชื่อ ที่ฝังรากลึกในประเทศอินเดีย

แม่น้ำคงคง แห่ง เมืองพาราณสี คงเป็นชื่อแม่น้ำและสถานที่ ที่คนไทยหลายๆคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดี โดยสถานที่แห่งนี้เป็น ชื่อของเมืองหลวงแคว้นกาสี ประเทศอินเดีย ที่มีแม่น้ำคงคา แม่น้ำที่เป็นเหมือนกับเส้นเลือดของชาวอินเดีย ไหลพาดพ่าน มาเป็นเวลากว่า 4,000 ปีแล้ว Continue reading ‘แม่น้ำคงคา’ ความเชื่อ ที่ฝังรากลึกในประเทศอินเดีย